9 มิ.ย. 2554 เวลา 9:33 น., โดย จำรัส เซ็นนิล
โรคต่อมลูกหมากโต
โรคต่อมลูกหมากโต
อาการของต่อมลูกหมากโตเกิดจากต่อมลูกหมากโตกดท่อปัสสาวะทำให้ท่อปัสสาวะแคบ ระยะแรกของโรคกระเพาะปัสสาวะยังแข็งแรงสามารถบีบตัวไล่ปัสสาวะออกได้ แต่เมื่อเวลาผ่านไปกระเพาะปัสสาวะอ่อนแรงไม่สามารถบีบตัวไล่ปัสสาวะ ทำให้เกิดอาการปัสสาวะสะดุด ผู้ป่วยบางคนอาจจะไม่มีอาการจนได้รับประทานยาแก้หวัด ผลข้างเคียงของยาแก้หวัดทำให้เกิดอาการปัสสาวะไม่อก อาการที่พบได้บ่อยคือ
-
ปัสสาวะไม่สุดเหมือนคนที่ยังไม่ได้ปัสสาวะ ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะสะดุดขณะปัสสาวะ อั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะไม่พุ่ง ปัสสาวะต้องเบ่งเมื่อเริ่มปัสสาวะ ต้องตื่นกลางคืนเนื่องจากปวดปัสสาวะ
คุณละเอียด แจ้งจิต บ้านเขาแหลม-เขาหล่น ต.แม่เปิ่น อ.แม่เปิ่น จ.นครสวรรค์ เล่าให้ฟังว่า สามีคุณเวช แจ้งจิต ป่วยเป็นโรคต่อมลูกหมากโต ไปตรวจที่โรงพยาบาล หมอส่องกล้องลงความเห็นว่าเป็นโรคต่อมลูกหมากโต หมอนัดผ่าตัด
ด้วยความกลัวจึงสืบเสาะหายาสมุนไพรดีมาบำบัดรักษา จวบจนมีคนแนะนำให้เอาเถาบวบหอมมาตากแห้ง มาประมาณ ๑ กำมือ ต้มเอาน้ำกิน กินต่างน้ำเพียง ๓ วันเท่านั้น ก็ปัสสาวะได้ตามปกติ ไม่มีอาการสะดุด ไม่มีอากาศปวด ปัสสาวะพุ่งโด่ง จนตกใจ หลังจากนั้นกินต่อเนื่องอีก ๓ หม้อ ปัจจุบันนี้ไม่ได้กินอีกเลย โรคต่อมลูกหมากโต ก็หายเป็นปกติ
บวบเป็นพืชที่ชอบขึ้นในแถบเอเซียอาคเนย์ และแพร่เข้าไปในจีนในราชวงศ์ถังหรือซ่ง บวบหอม มีชื่อภาษาท้องถิ่นว่า บวบกลม บวบขม และบวบหอม มีชื่อภาษาอังกฤษว่า สปองจีโกร์ด (Sponge Gourd) สมูธ โกร์ด (Smooth gourd) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ลูฟฟ์ฟ่า อีจิปเทียคา (Luffa aegyptiaca Miller) จัดอยู่ในวงศ์ คิวเคอร์บิทาซี้อี้ (Cucurbitaceae) จัดเป็นไม้เถาเหมือนกับบวบเหลี่ยม ลักษณะต้น ดอก และใบ คล้ายกันมากคือ มีลำต้นเป็นเถาและมีหนวดสำหรับยึดเกาะ ใบจะมีลักษณะเป็นขอบใบหยัก ดอกจะมีสีเหลืองสดใส ต่างกันที่ลักษณะของทรงผล คือ หากเป็นบวบหอมจะมีลักษณะของผลยาวรี ผิวผลเรียบไม่มีเหลี่ยม หากเป็นบวบเหลี่ยม ลักษณะของผลจะมีเหลี่ยมเป็นสันนูนขึ้นมาชัดเจน
บวบเป็นอาหารจัดอยู่ในพวกยิน (เย็น) ถ้านำมาผัดหรือต้มกิน จะทำให้ชุ่มคอ เป็นอาหารที่เหมาะสำหรับฤดูร้อน จะช่วยขับร้อน จะช่วยระบายอีกด้วย ถ้ากินเป็นประจำ จะไม่ทำให้เกิดอาการร้อนใน (เจ็บคอ คอแห้ง มึนหัว ท้องผูก)
บวบหอม มีคุณค่าทางโภชนาการคือ ประกอบด้วยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต เส้นใย แคลเซียม เหล็ก ฟอสฟอรัส วิตามินเอ วิตามินบี 1วิตามินบี 2 ไนอาซิน และวิตามินซี ในผลของบวบหอมจะมีน้ำ 95.9 % และน้ำตาล 2.2% มีสารซาโปนิน มิวซิน และไฟติน ส่วนในเมล็ด จะมีกรดไขมันที่เรียกว่า ไลโนลีอิค (linoleic)
สรรพคุณของบวบหอม
- ดอก มีรสขมเล็กน้อย ใช้รักษาอาการไอ เจ็บคอ แก้หอบหืด และริดสีดวงทวาร
- กิ่งหรือลำต้น ใช้ต้ม แก้หลอดลมอักเสบเรื้อรัง
- ผลอ่อน มีรสเย็นจืด ออกหวาน จึงเหมาะสำหรับใช้ลดไข้ แก้ร้อนใน ระบายท้อง ขับน้ำนม ขับปัสสาวะ แก้เลือดออกตามทางเดินอาหาร แก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ในตำรายาไทยมีคำแนะนำในการใช้เพื่อขับน้ำนมดังนี้ ให้ใช้ผลอ่อน 1-2 ผล นำมาประกอบอาหารให้แม่ลูกอ่อนรับประทาน จะช่วยขับน้ำนมค่ะ
- ใบสด คั้นดื่มเป็นยาฟอกเลือด ขับระดู นำใบมาตำพอกแก้อักเสบปวดบวม ผื่นคัน หากนำใบมาต้มดื่ม ใช้ขับปัสสาวะ หรือแก้ปัสสาวะเป็นเลือด หากใช้ใบแห้งบวบหอมหนัก 5 กรัม ชงน้ำร้อน 1 แก้ว ดื่มก่อนอาหารเช้า-เย็น
- เมล็ด เผาให้เป็นเถาแล้วบดทาบริเวณที่ปวด แก้ปวดเอวเรื้อรัง หรือใช้กินเพื่อขับปัสสาวะ ขับพยาธิ หรือบีบเอาน้ำมันจากเมล็ดบวบหอมมาใช้ทำอาหารก็ได้ค่ะ
- ราก ใช้รับประทานเป็นยาถ่าย หรือรักษาอาการปวดศรีษะข้างเดียว แก้เจ็บคอ
นอกจากนั้นแล้วในรังบวบ จะมีสาร ไซแลน(xylan) เซลลูโลส(cellulose) แมนแนน(mannan) และลิกนิน(liqnin) ซึ่งสามารถใช้ขัดถู ใช้กันกระแทก สานเสื่อ หมวก ผ้าปูโต๊ะ ใช้กรองน้ำมันในเรือเดินทะเลได้ดีอีกด้วย
บวบหอม มีสรรพคุณแทบทุกส่วน รู้คุณค่าของบวบหอมแล้วควรหาปลูกไว้ในเรือกสวนไร่นาบ้าง เก็บไว้รับประทาน โดยเฉพาะการบำบัดโรคต่อมลูกหมากโต ชึ่งส่วนใหญ่คนเราพอมีอายุมากขึ้นโรคนี้มักจะมาเยือนเสมอ ต้องขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆจากคุณละเอียด แจ้งจิต จังหวัดนครสวรรค์ ๐๘-๑๐๐๗-๐๘๑๔
----------------------------------------------------------