รวบรวมความรู้ ภูมิปัญญาชาวบ้านของไทย ให้คนรุ่นหลังได้สืบสานต่ออย่างภาคภูมิใจ
อ่างเก็บน้ำ น้ำปี้ จ.พะเยา อ่างเก็บน้ำ “น้ำปี้” “ความหวังของชาวเชียงม่วน จังหวัดพะเยา” จำรัส เซ็นนิล รวบรวม/เรียบเรียง ปัญหาเรื่องแหล่งน้ำสำหรับทำกิน ดูเหมือนจะเป็นปัญหาที่พี่น้องเกษตรกรทั่วทุกภาคของประเทศต้องดิ้นรนต่อสู้มาทุกยุคทุกสมัย กว่าจะได้แหล่งน้ำมาพลิกฟื้นผืนดินทำมาหากินได้ต้องพบกับอุปสรรคมากมาย อย่างเช่น โครงการอ่างเก็บน้ำ น้ำปี้ จังหวัดพะเยาที่ราษฎร์ในเขตอำเภอเชียงม่วน ได้รับความเดือดร้อนจากการขาดแคลนน้ำใช้ในการเพาะปลูก โดยเฉพาะในหน้าแล้งและฝนทิ้งช่วง ในปี พ.ศ. ๒๕๑๙ ราษฎร์จึงได้ร้องเรียนผ่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์ ต่อมารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในขณะนั้น ได้พิจารณาสั่งการให้กรมชลประทานพิจารณาดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการวางโครงการอ่างเก็บน้ำ น้ำปี้ หลังจากนั้นได้มีการศึกษาจัดทำรายงานเบื้องต้น ตลอดจนศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อมเรื่อยมาจนแล้วเสร็จในปี พ.ศ.๒๕๔๔ และในปี พ.ศ. ๒๕๕๑ กรมชลประทานได้ส่งรายงานการศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาจวบจนเมื่อปลายปี ๒๕๕๔ เกิดฝนตกหนักในลุ่มน้ำยม ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมด้านท้ายน้ำ รัฐบาลมีนโยบายเพื่อหาแหล่งเก็บกักน้ำในลุ่มน้ำยมตอนบน เพื่อเก็บกักน้ำในช่วงฤดูฝนซึ่งมีปริมาณน้ำมาก กรมชลประทานจึงพิจารณาถึงศักยภาพอ่างเก็บน้ำ น้ำปี้อีกครั้งและพบว่าโครงการอ่างเก็บน้ำ น้ำปี้มีศักยภาพที่จะเก็บกักน้ำเพิ่มขึ้นได้ คุณเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ เมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ได้มีการประชุมปัจฉิมนิเทศโครงการศึกษาทบทวนเพิ่มศักยภาพโครงการอ่างเก็บน้ำ น้ำปี้ อ.เชียงม่วน จ.พะเยา ร่วมกับชาวบ้านที่ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา โดยมีนายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ อธิบดีกรมชลประทาน นายชูชาติ กีฬาแปง ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ ผู้อำนวยการ สำนักบริหารโครงการ กรมชลประทาน ดร.บุญส่ง ไข่เกษ ผู้จัดการโครงการศึกษาทบทวนเพิ่มศักยภาพการเก็บน้ำ โครงการอ่างเก็บน้ำ น้ำปี้ นายนิรันดร์ บางท่าไม้ ผู้เชี่ยวชาญด้านอุทกวิทยาและด้านวางโครงการพร้อมด้วยตัวแทนจากสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คุณชูชาติ กีฬาแปง ดร.สมเกียรติ์ ประจำวงษ์ คุณนิรันดร์ บางท่าไม้ ลุงจอน กองแก้ว วันนั้นภายในบริเวณงานมีการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของชุมชนต่างๆอีกมากมาย ทั้งผ้า พืชผัก เครื่องจักสาน ยาสมุนไพร การนวดผ่อนคลาย อาหารการกิน ตลอดถึงมีวงดนตรีสะล้อ ซอซึง ของวงผู้สูงวัยมาบรรเลงด้วย หนึ่งในคณะคือลุงจอน กองแก้ว อาชีพทำนา จากบ้านปีน หมู่ ๑๓ ต.เชียงม่วน อ.เชียงม่วน จังหวัดพะเยา บอกผมว่า มีนา ๖ ไร่ได้ทำนาปีละครั้ง เนื่องจากน้ำมีไม่เพียงพอ ถ้าได้แหล่งน้ำจะดีมากจะได้ทำนาเพิ่มขึ้นอีกปีละ ๒ ครั้ง ผมสอบถามหลายคนต่างลงความเห็นเดียวกันว่าต้องการให้น้ำมาเร็วๆแม้กระทั่งคุณประสิทธิ์ สมัคร นายกเทศมนตรี ต.เชียงม่วน ภายหลังการประชุมท่านอธิบดีกรมชลประทานได้ให้สัมภาษณ์ว่า ตามแผนการศึกษาทบทวนใหม่ขณะนี้อ่างเก็บน้ำจะมีความจุอ่างประมาณ ๙๖ ล้านลูกบาศก์เมตร จากแผนเดิมที่เคยศึกษาไว้มีความจุเพียง ๒๖-๒๗ ล้านลูกบาศก์เมตรเท่านั้น สามารถส่งน้ำให้พื้นที่การเกษตรหน้าฝนใน อ.เชียงม่วน จ.พะเยาได้ ๒๘,๐๐๐ ไร่ และในฤดูแล้งส่งน้ำให้พื้นที่ อ.เชียงม่วนและพื้นที่จังหวัดแพร่รวมแล้ว ๕๑.๘๐๐ ไร่ น้ำต้นทุนจากอ่างเก็บน้ำ น้ำปี้ จะทำให้เกษตรกรมีโอกาสได้รับน้ำทำกินสมบูรณ์ขึ้นทั้งในฤดูฝนและฤดูแล้ง ขณะที่ปัจจุบันเกษตรกรเพาะปลูกได้เฉพาะช่วงฤดูฝนเท่านั้น ---------------------------------------------------------