เรื่องเล่าสุขภาพ

สะเก็ดเงิน

สะเก็ดเงิน
จำรัส  เซ็นนิล  รวบรวม/เรียบเรียง
           โรคสะเก็ดเงินเป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังที่พบบ่อยชนิดหนึ่งมีชื่อ ภาษาอังกฤษว่า “Psoriasis” โรคนี้เกิดจากเหตุปัจจัยหลายปัจจัยประกอบกัน ไม่ได้เกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งเพียงสาเหตุเดียว ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค สารเคมีหรือสภาวะทางฟิสิกส์ที่เป็นพิษต่อผิวหนังโดยตรงแต่เพียงอย่างเดียว แต่เป็นผลจากพันธุกรรมหรือยีนที่ผิดปกติหลายชนิดร่วมกับปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกร่างกายที่ไม่เหมาะสมมากระตุ้นให้โรคปรากฏขึ้น


                 อาการผื่นผิวหนังเป็นได้หลายรูปแบบ ที่พบบ่อย คือ ผิวหนังอักเสบเป็นปื้นแดง (Erythematous plaque) ลอกเป็นขุย เป็นๆ หายๆ ผู้ป่วยบางรายเป็นเฉียบพลันแล้วผื่นก็หายไป บางรายเป็นผื่นผิวหนังอักเสบเรื้อรัง ความผิดปกติอื่นๆที่อาจพบได้ คือ ความผิดปกติที่เล็บ ข้ออักเสบ เป็นต้น ผู้ป่วยอาจมีอาการผิดปกติของเล็บหรือปวดข้อนำมาก่อน หรือเกิดขึ้นพร้อมๆกับอาการผื่นผิวหนังอักเสบ 
              ตลอดการเดินทางทำข่าวทำให้ผมได้รู้จักกับผู้ป่วยโรคนี้ได้เห็นสภาพร่างกายที่ถูกโรคภัยรบกวน บางรายเป็นมากจนไม่กล้าออกจากบ้าน กลายเป็นปมด้อยหมดความมั่นใจ ท้อแท้ในชีวิตทรมานเป็นเวลานาน จนมองไม่เห็นโอกาสหายขาดจากโรค ยิ่งทำให้ผมต้องเสาะแสวงหาองค์ความรู้จากหลายพื้นที่เพื่อให้คำแนะนำ หายบ้างไม่หายบ้างอันด้วยสาเหตุมาจากหลายปัจจัย  การเป็นโรคสะเก็ดเงินต้องระวังเรื่องของแสลงอาหารการกินที่เรากินเข้าไปก็มีส่วนให้โรคสะเก็ดเงินกำเริบไม่หายขาดได้  

  
คุณภัสสรินทร์  ศรีธานิยโสธร
    
        ผู้ป่วยรายแรกที่ผมรู้จักคือคุณภัสสรินทร์   ศรีธานิยโสธร สตรีนักธุรกิจ พบเธอที่ลำน้ำเข็ก อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก ขณะกำลังนำกาแฟมาดูแลสื่อมวลชนที่มาทำข่าวส่งเสริมการท่องเที่ยว จากการพูดคุยเธอก็ได้เล่าเรื่องราวชีวิตการเป็นโรคสะเก็ดเงินให้ฟังว่า เคยคิดฆ่าตัวตายด้วยความทุกข์ทรมานจับปืนจ่อเตรียมเหนี่ยวไก แต่ต้องจุดด้วยคำพูดของ มรว.ถนัดศรี สวัสดิวัฒน์ พูดออกอากาศขณะดำเนินรายการทำให้ฉุกคิด
        และวันที่จำไม่ลืม ๓๐ เมษายน ๒๕๔๓ เป็นไข้อย่างหนักจนร่างกายหมดเรี่ยวแรงที่จะต้านโรคไว้ได้ จึงเตรียมรับความพ่ายแพ้ เตรียมจัดงานศพ ทุกคนลงความเห็นว่า คงจะเยื้อชีวิตไม่ไหวแล้ว นอนรอนับวันและชั่วโมง และวินาที ที่หัวใจจะหยุดเต้น
       หลังจากนั้นเธอได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ให้ดื่มสมุนไพร ๓๒ ประดง หรือสิรินธรวัลลี หลังจากได้ตัวยามาเธอต้มดื่มชั่วข้ามคืน จากสภาพที่ไม่มีเรี่ยวแรงเดิน-ลุก หัวใจที่เคยเต้นแผ่วๆก็เริ่มเต้นตามปกติหายใจคล่องขึ้นสามารถลุกเดินได้อาการปวดข้อเริ่มดีขึ้น เส้นผมเคยร่วงก็หาย ผิวพรรณเริ่มดีขึ้นเรื่อยๆ โรคนี้ปกติอากาศร้อนก็ปวดกระดูกหนาวจัดก็ปวดกระดูก เธอเริ่มดีวันดีคืน จนกระทั่งหายเป็นปกติ
เธอจึงมุ่งมั่นเรียนแพทย์แผนไทยที่วัดโพธิ์จนจบ ล่าสุดเธอได้รวบรวมประสบการณ์เขียนเป็นหนังสือเล่มใหญ่เพื่อให้ผู้ป่วยได้ศึกษา
      ใครสนใจติดต่อคุณภัสสรินทร์   ศรีธานิยโสธรได้ที่ ๐๘-๑๔๗๕-๐๐๙๖ หรือ ๐๘-๙๑๖๙-๑๖๘๒

  
คุณแม่อารีย์  อินทรสุวรรณ

     ผู้ป่วยอีกคนที่ผมได้มีโอกาสนั่งจับเข่าคุยกันคือทนายเดช อร่ามสุข จากสำนักทนายความลาดพร้าว หลังจากได้ใช้สมุนไพรของแม่อารีย์  อินทรสุวรรณ ( ๐๘-๕๘๘๓-๙๐๙๕ , ๐๘-๔๘๔๐-๕๙๖๙ )อาการดีขึ้น จึงอยากเผยแพร่เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโรคเดียวกัน
     “ ผมเคยเป็นแผลขึ้นตามแขนและข้อศอก จะคันมาก ปวดๆคันๆจนต้องเกา เกาเบาๆก็ไม่หายคัน ต้องเกาแรงๆ พอเกาแรงก็เป็นแผล”
    ทนายเดช รักษามา ๓ เดือนอาการดีขึ้นตามลำดับสำหรับผู้ป่วยสะเก็ดเงินอาหารต้องห้ามคือ พวกเป็ด  กุ้ง ไก่ ปลาหมึก  ห่าน ปลามีเกล็ดก็ห้ามกิน ของหมักดอง มีแอลกอฮอลล์ก็งด แล้วก็ห้ามเครียด ทนายเดชจะไปทำบุญที่วัดระฆังโฆษิตารามทุกวัน
    ทนายเดชบอกว่า ถ้าหายแล้วกลับมากินอาหารสำแดงอีกโรคนี้ก็จะกลับมาอีก อาหารต้องเลือกกิน จะกินหมู  ปลาช่อน ปลาทับทิม  ปรากลาย โรคสะเก็ดเงิน การรักษาด้วยสมุนไพรมีผลหาย  ๘๐ % ส่วนอาหารการกินมีผล  ๒๐ % การรักษาต้องควบคู่กันไป (ทนายเดช ๐๘-๔๓๕๔-๐๒๕๔)


 คุณบรรเจิด  คำแดง

      จริงแล้วมีประสบการณ์หลายคน บางคนก็ไม่กล้าเปิดเผย อีกคนเป็นหมอผู้รักษา คุณบรรเจิด คำแดง จากจังหวัดหนองคายแนะนำผมมา บอกว่ามีหลายคนรักษาแล้วอาการดีขึ้นมากจนสามารถควบคุมโรคสะเก็ดเงินได้คืออาจารย์ สุขพัฒย์โชค  มหิศนันท์  อยู่ที่ศูนย์ชุมนุมว่านยาสมุนไพรไทย อ.บุ่งคล้า จ.หนองคาย ผมเตรียมจะไปสัมภาษณ์ท่านหลายครั้งแต่จนแล้วจนรอด ต้องเลื่อนออกไปเพราะภารกิจไม่เอื้อ ต้องใช้เวลาเดินทางหลายวัน
      แนวการรักษาของอาจารย์สุขพัฒน์โชค เน้นสมุนไพรยาขับพิษ ยา ๕ ราก หรือแก้ว  ๕  ดวง และรับประทานยาสมุนไพร ๓๒  ประดง หรือต้นสิรินธรวลี หลังจากนั้นก็ใช้สมุนไพรแก้น้ำเหลืองเสีย พุพองตามร่างกาย ด้วยตำรับนี้
       เหงือกปลาหมอ ทั้ง ๕ หนัก ๔ บาท  ข้าวเย็นเหนือ หนัก ๔ บาท  ข้าวเย็นใต้ หนัก ๔  บาท
       คงคาเดือด หนัก ๔ บาท   หัวร้อยรู หนัก ๔  บาท  ผีหมอบ หนัก ๔  บาท ใบมะกา หนัก ๔ บาท
       ฝักราชพฤกษ์ หนัก ๒ บาท

        ยา ๑ หม้อเติมน้ำให้ท่วมยา เคี่ยวงวดเหลือเพียงครึ่งหนึ่ง รับประทานครั้งละ ๑ ถ้วยช้า วันละ   ๑-๒ครั้ง รับประทาน  ๓-๕  วัน โรคก็จะหายได้ ยา ๑  หม้อต้มรับประทานได้ ๕ วัน แล้วเปลี่ยนยาใหม่
และ ประสานผิวภายนอก (แผลตามร่างกาย) ด้วย
ขนานที่ ๑   ยาทาโรค เรื้อนกวาง หรือ สะเก็ดเงิน ใช้สมุนไพรที่มีส่วนผสมดังนี้
            -  เห็ดมูลโค หนัก   ๔   บาท
            -  เห็ดร่างแห หนัก  ๔  บาท

        ใช้ส่วนผสมทั้ง ๒  อย่างนี้ มาบดรวมกันให้เป็นผงละเอียด แล้วใช้ละลายกับน้ำมันงาใช้ทาบริเวณที่เป็นแผล
ขนานที่ ๒  ใช้รังหมาร่า (ค้างปีไม่เอา) ใส่ถ้วยแล้วบีบมะนาวใส่ลงไป ผสมทาวันละ ๓  เวลา ไม่กี่วันก็หาย
ขนานที่ ๓  ใช้กระเทียมสับผสมน้ำมันงา รักษาโรคผิวหนังอย่างกลาก เกลื้อน เรื้อนกวาง ทาบริเวณที่มีอาการ
ขนานที่ ๔  หญ้าดอกขาว ใบสด แก้กลากเกลื้อน เรื้อนกวาง ได้ดีมาก
อาหารเสริม น้ำมันปลา ช่วยลดการอับเสบของผิวหนังในโรคผิวหนัง เรื้อนกวาง หรือ สะเก็ดเงิน
       สำหรับยา ๕  ราก (แก้ว ๕ ดวง)  สรรพคุณ เป็นยากระทุ้งพิษไข้  ตัวยามี รากชิงชี รากย่านาง รากคนทา รากเท้ายายม่อม รากมะเดื่อชุมพร
ยาทั้งหมดนี้ เอาแต่ละอย่างเท่าๆ กัน รับประทานครั้งละ ๒-๓  ช้อนโต๊ะ ห่างกันประมาณ ๓  ชั่วโมงต่อครั้ง
ยาสมุนไพรสิรินธรวัลลี หรือ 32 ประดง
สรรพคุณทางยา สมุนไพรสามสิบสองประดง คือ รากและลำต้นนำมาตากแห้งใช้ฝนกับน้ำทารักษาฝีหนองใช้ต้มกับน้ำดื่มแก้ปวดตามข้อ ตามเอ็น(ประดงเส้นเอ็น)  แก้ลมพิษ(ประดงไฟ)  นำดอกมาตากแห้งใช้ดองกับสุราเพื่อช่วยให้เจริญอาหาร
น้ำมันปลาสรรพคุณ  ช่วยลดการอักเสบของผิวหนังในโรคผิวหนัง เรื้อนกวาง  หรือสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
หญ้าดอกขาว   ชื่ออื่น  หญ้าสามวัน  ก้านธูป  ถั่วแฮะดิน  ฝรั่งโคก  หญ้าละออง  หญ้าหมดน้อย  หนวดหนา  หญ้าดอกขิง  หญ้าเหล่าฮก  หญ้าเหนียมช้าง เซี่ยวไซ(จีน)
สนใจสอบถาม - ปรึกษาได้ที่
ศูนย์ชุมนุมว่านยาสมุนไพรไทย อ.บุ่งคล้า
  ๑๑  ม.๓   ต.บุ่งคล้า อ.บุ่งคล้า จ.หนองคาย
โทร. ( ๐๔๒ ) ๔๙๙๐๕๒ หรือ ปรึกษาได้ที่ อาจารย์ สุขพัฒย์โชค  มหิศนันท์ มือถือ  ๐๘-๓๔๑๕-๘๐๕๕
ขอให้ทุกท่านโชคดีครับ
--------------------------------------------------------------------------

blog comments powered by Disqus