รวบรวมความรู้ ภูมิปัญญาชาวบ้านของไทย ให้คนรุ่นหลังได้สืบสานต่ออย่างภาคภูมิใจ
ดูงานเกษตร-สมุนไพร จ.ชัยภูมิ โครงการทัศนศึกษาการเกษตร “โรงเรียนชาวนาทางอากาศ”รุ่น ๑ เสาร์ที่ ๑๒ อาทิตย์ที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๕ อ.เกษตรสมบูรณ์ จ.ชัยภูมิ เสาร์ที่ ๑๒ พค.๒๕๕๕ เวลา ๑๐-๑๑.๐๐น. ลงทะเบียนที่สถานีขนส่งภูเขียว ( ต่างคนต่างนำรถมาเอง) -เดินทางไปแหล่งเรียนรู้ชุมชนบ้านโนนกอก ต.บ้านบัว อ.เกษตรสมบูรณ์ จ.ชัยภูมิ เวลา ๑๒.๐๐น. รับประทานอาหารกลางวันใต้ร่มไผ่เลี้ยงสีทอง ๓ ฤดู ฟังการบรรยายเรื่อง การเกษตรแบบผสมผสานตามแนวพระราชดำริ มีทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่มี เหลือแบ่งขาย อบรมแล้วกลับไปอย่างคนมี มีทุกอย่างในสวน ง่ายนิดเดียว โดย..ปราชญ์พื้นบ้าน กำนันเสนอ นราพล ชมแปลงเกษตรผสมผสาน ทำนา ปลูกกระเทียม ปลูกผัก เลี้ยงกบ เลี้ยงปลา ปลูกไผ่เศรษฐกิจ มีรายได้ทั้งปี การปราบหญ้านาข้าว โดยไม่ใช้สารเคมี โดย..คุณเอมอร นารี ชาวนาบ้านพิพวยตำบลสระโพนทอง อ.เกษตรสมบูรณ์ จ.ชัยภูมิ ดูการเลี้ยงตุ๊กแก น้ำหนัก ๒๐๐ กรัม ราคา ๓-๔ พันบาท หนักมากกว่า ๓๐๐ กรัม หลักหมื่นบาท เวลา ๑๗.๐๐น. เข้าที่พักนอนเต้นท์กลางทุ่งนา สูดอากาศบริสุทธิ์ ขนาบซ้ายขวาด้วยเทือกเขาภูแลนด์คา และเขาเขียวเขาเขียว กลางคืนอ.พัฒน์ สันทัด วิทยากรแกนนำด้านข้าว เสวนาด้านการเกษตรทำนาปลอดสารพิษ พิชิตแมลงด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้าน แลกเปลี่ยนประสบการด้านสมุนไพร ดื่มน้ำชาร้อนสมุนไพรใบไผ่ล้างพิษ ข้าวต้มรอบดึก เวลา ๒๒.๐๐น. พักผ่อนหลับนอน อาทิตย์ที่ ๑๓ พค.๒๕๕๕ เวลา ๐๗.๐๐น. รับประทานอาหารเช้า เดินทางไปสวนสมุนไพรบ้านเก่าน้อย หมู่ ๓ ต.บ้านบัว อ.เกษตรสมบูรณ์ จ.ชัยภูมิ ฟังการบรรยาย “สมุนไพรกับการพึงพาตัวเองก่อนถึงมือหมอ”โดยปราชญ์พื้นบ้านอดีตพรานป่าผู้เชี่ยวชาญ ด้านสมุนไพร และการรักษา มะเร็ง เบาหวาน ความดัน อัมพฤกษ์-อัมพาต พร้อมนำชมสวนสมุนไพร นานาชนิด และพลาดไม่ได้คือ ว่านตอดว่านอสรพิษ มีฤทธิ์เหมือนงูพิษ พิษร้ายซ่อนอยู่ใต้ใบ อดีตปลูกไว้กันขโมย พิเศษสุดท่านจะได้อบสมุนไพรล้างพิษ แบบภูมิปัญญาพื้นบ้าน ท่ามกลางสวนสมุนไพร ชอบชนิดไหนสามารถ นำกลับไปปลูกได้ เวลา ๑๒.๐๐น. รับประทานอาหารเที่ยงแล้วเดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ ติดต่อลงทะเบียนได้ที่ ศิษย์โรงเรียนชาวนาทางอากาศ คุณเก๋ เอมอร นารี ๐๘-๑๒๘๒-๑๓๔๔ รับรุ่น ๑ เพียง ๓๐ คน ผู้ลงทะเบียนจะได้รับพันธ์ไผ่เลี้ยง คนละ ๑ ต้น หมายเหตุ .. ค่าลงทะเบียน ๑,๒๐๐ บาท กระจายรายได้ช่วยชาวบ้าน กินอยู่แบบบ้านๆ อาหาร พื้นบ้านนอนเต้นท์ ( โครงนี้เป็นโครงการทัศนศึกษาชาวบ้านทำเอง ผมในฐานะสื่อ ก็ประชาสัมพันธ์ให้ เป็นการช่วยให้กำลังใจ ชุมชนชาวนาผมไปร่วมงานผมก็ต้องลงทะเบียนช่วยชาวบ้าน คนมีช่วยคนลำบาก เหมือนพี่ช่วยน้อง) สำหรับชุมชนใดต้องการให้ อ.พัฒน์สันทัดไปสอนฟรี ให้รวมตัวกันแล้วนัดหมาย อ.พัฒน์จะไปสอนให้ อาจารย์ทำมาหลายสิบปีแล้ว ติดต่ออาจารย์พัฒน์ สันทัด ๐๘-๖๐๙๔-๙๖๒๗ สำหรับผมกินเงินเดือนภาษีประชาชน ไม่เคยมีค่าตัวสำหรับชาวบ้าน น้ำมันผมก็เติมผมเองไม่เคยเบิก (ในรถมีเต้นท์-ถุงนอนพร้อม) ชุมชนใด..มีปัญหา...หรือต้องการประชาสัมพันธ์ (ต้องเป็นชุมชน-ชาวบ้าน /บริษัทไม่รับ) ติดต่อผมได้ ๐๘-๙๕๑๘-๑๕๖๔ คุณเอมอร อดีตพนักงานบริษัท ลาออกมา อยู่บ้านพัฒนาถิ่นเกิด คุณยงยุทธ สามีคุณเอมอร กำลังเก็บเต้นท์งานนี้เสียตังค์-ลำบาก-สนุกประทับใจ-ได้ความรู้-ช่วยชุมชนได้กุศล ( หาไม่ได้แล้วครับ) คนไม่รู้จักกันทั่วประเทศได้มาพบกัน กำนันเสนอ นราพล ปลูกกระเทียมสลับทำนา เลี้ยงกบ เลี้ยงหมู ปลูกไผ่ โดยเฉพาะ ไผ่เลี้ยงสีทองเป็นไผ่ ๓ ฤดู แทงหน่อ ๑๐ เดือนขายทุกวัน หยุดแทงหน่อหน้าหนาว ๒ เดือน เราก็ขุดตอลงถุง ขายได้อีก กำนันบอกว่า เราต้องเป็นคนมี คือมีทุกอย่าง ไม่ต้องรวย แค่มีทุกอย่างก็เหลือกิน