รวบรวมความรู้ ภูมิปัญญาชาวบ้านของไทย ให้คนรุ่นหลังได้สืบสานต่ออย่างภาคภูมิใจ
หมุดโลก หมุดโลก “ตามหาหมุดโลกที่อุทัยธานี” จำรัส เซ็นนิล รวบรวม/เรียบเรียง ผมเดินทางออกจากกรุงเทพฯ พร้อมอาจารย์พัฒน์ สันทัด วิทยากรด้านการเกษตรเป้าหมายคือไปเยี่ยมแฟนคลับและลูกศิษย์ลูกหา ที่จังหวัดอุทัยธานี เพื่อความแม่นยำผมจะป้อนข้อมูลการเดินทางลงในอุปกรณ์ระบุตำแหน่งแผนที่ไฮเทคโดยใช้เครือข่ายดาวเทียมที่เรียกกันทั่วไปว่าเครื่อง GPS. (Global Positioning System ) ที่อยู่ในรถกันความผิดพลาด ผสมกับข้อมูลที่อาจารย์พัฒน์ สันทัด คอยชี้บอก ฮ่าๆๆ ซ้ายคุณกนกวรรณ กลางคุณกาญจพรรษ เข้าเขตตัวเมืองอุทัยธานีเราจะมองเห็นเขาสะแกกรังตั้งตระหง่านอยู่เบื้องหน้า เห็นปลายยอดแหลมของเจดีย์และวิหารวัดวัดสังกัสรัตนคีรี อยู่บนยอดเขา อาจารย์พัฒน์ ชวนผมขับรถขึ้นไปสักการะพระปฐมบรมมหาชนก พระราชบิดาของรัชกาลที่ ๑ แห่งราชวงศ์จักรี ที่ประดิษฐานอยู่ที่นี่ พอขึ้นถึงยอดเขาขับรถไปจอดบริเวณลาดจอด เดินลงจากรถไม่ถึงก้าว ก็ได้ยินเสียงคนเรียกอาจารย์พัฒน์ ผมมองไปเป็นสุภาพสตรีแต่งชุดสีขาว ทราบภายหลังชื่อคุณกาญจพรรษ แก้วมณี ( ๐๘-๖๕๑๙-๐๓๐๘) เคยเป็นครูจิตอาสากับอาจารย์พัฒน์ สอนที่วัดท่าซุง วันนี้ ( ๒๘ มค.๕๖) มาเป็นจิตอาสาขายผลิตภัณฑ์ช่วยวัด ผมกับอาจารย์พัฒน์เลยอุดหนุนไปคนละอย่างสองอย่าง ไม่ถึง ๒๐ นาทีคุณกนกวรรณ มิตรกิจการค้า ลูกศิษย์อาจารย์พัฒน์อีกคนก็ขับรถขึ้นมาเพื่อมาขอคีเฟอร์ (บัวหิมะ) เห็นหน้าผมบอกจำได้คุณจำรัสเพราะเห็นในหน้าปกหนังสือเล่มเดียวคุ้มโรคภัย ซื้อมาแล้ว หลังจากนั้นก็แบ่งปันพร้อมอธิบายการเลี้ยงคีเฟอร์ฉบับย่อให้คุณกาญจพรรษและคุณกนกวรรณฟัง วันนั้นแดดร้อนมาก หลังจากสักการะพระบรมรูปพระปฐมบรมมหาชนก พระราชบิดาของรัชกาลที่ ๑ แห่งราชวงศ์จักรีแล้ว ผมเดินกลับไปเอาร่มที่รถมาส่งให้อาจารย์พัฒน์ กางคนละคัน เพื่อไปดูหมุดโลกที่เขาร่ำลือกันว่ามีอยู่ที่นี่ ด้วยความอยากรู้อยากเห็น จะได้เก็บภาพมาฝากแฟนคลับจำรัสด็อดเน็ต เราเดินลัดเลาะสุมทุมพุ่มไม้ท่ามกลางแสงแดดแผดเผาร้อนระอุ เดินไปหยุดไป มองเห็นวิวทิวทัศน์รอบตัวเมืองอุทัยธานีได้อย่างสวยงาม ลัดเลาะโขดหินที่เรียงรายระเกะระกะไปจนถึงหมุดจนได้ ระยะทาง ๕๐๐ เมตรคลับ ฮ่าๆๆ “ โอ้ โห้..นี่เองหมุดโลก ไม่มาไม่รู้ คงมีอีกหลายคนไม่รู้ และก็ยังไม่รู้อีกว่า..สึนามิหรือแผ่นดินไหวที่ผ่านมา แผ่นดินไทยมันเอียงมันทรุดไปมากน้อยขนาดไหน หรือหมุดมีไว้เฉพาะกำหนดวัดตำแหน่งแผนที่อย่างเดียว” ผมพูดเปรยๆให้อาจารย์พัฒน์ฟัง “ หมุดนี้ อยู่ในความดูแลของกรมแผนที่ทหาร เห็นชาวบ้านบอกทุกปีเจ้าหน้าที่จะมาตรวจวัดตลอด” ด้วยความสงสัย หลังจากกลับจากจังหวัดอุทัยธานี ผมจึงค้นคว้าสอบถามผู้รู้จึงทราบว่า ประวัติศาสตร์การทำแผนที่ประเทศไทยบ้านเรา มีมานานนับร้อยปีแล้ว ส่วนใหญ่ใช้ในกิจการเดินเรือ ล่วงมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ จึงมีการทำแผนที่โลกฉบับมาตรฐาน โดยใช้ระบบการปักหมุดหลักฐานเพื่อการรังวัดจากหมุดหนึ่งไปอีกหมุดหนึ่ง ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมเพื่อใช้ในการคำนวณแบบตรีโกณมิติหาขนาดพื้นที่ ในทวีปเอเชียมีการปักหมุดหลักฐานอ้างอิงอยู่ที่เขากะเลียนเปอร์ ประเทศอินเดีย วัดข้ามประเทศพม่าเข้ามาเมืองไทยเพื่อเชื่อมกับหมุดหลักฐานบนเขาหลวง อ. เมือง จ. ราชบุรี ซึ่งเป็นจุดอ้างอิงในการทำแผนที่ประเทศไทย โดยมีกรมแผนที่ทหารเป็นหน่วยงานผู้รับผิดชอบ ต่อมาในการทำแผนที่โดยใช้รังวัดแบบสามเหลี่ยมมีความคลาดเคลื่อน กรมแผนที่ทหารจึงเปลี่ยนมาใช้ระบบการรังวัดแบบ WGS 84 (World Geodetic System 1984) ที่อ้างอิงเส้นสมมุติลองติจูด (เส้นแวง) เส้นสมมุติละติจูด (เส้นรุ้ง) และความสูงโดยใช้เครือข่ายดาวเทียมวัดจากหมุดหลักฐานที่ปักอยู่บนพื้นดินในปี ๒๕๓๔ แต่ปรากฎว่าการวัดจากหมุดหลักฐานแผนที่บนเขาหลวง จ. ราชบุรีนั้นเกิดความคลาดเคลื่อน กรมแผนที่ทหารจึงหันมาใช้หมุดหลักฐานแผนที่บนเขาสะแกกรัง อ. เมือง จ. อุทัยธานี เป็นหมุดเริ่มต้นของการทำแผนที่สมัยใหม่ด้วยดาวเทียม หมุด แผนที่โลกเท่าที่ทราบในแถบเอเซียมีที่อินเดียเวียดนามและไทยจะทำมุมสามเหลี่ยมพอดี ตามหาต้นมะนาวไม่รู้โห่-กราบหลวงพ่อฤาษีลิงดำที่วัดท่าซุง ( ตอนต่อไป )