สำนักพัฒนาการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้เชิญผมไปร่วมงาน“มหกรรมท่องเที่ยว
โดยชุมชน”ที่โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กทม. เมื่อวันที่ ๒๖ มีนคา ๒๕๕๒ บรรยากาศในงานมีตัวแทนกลุ่ม
เครือข่ายท่องเที่ยวชุมชนจากทั่วประเทศมากันไม่ต่ำกว่า ๕๐๐ คน มาร่วมระดมความคิดเพื่อเสนอบทบาท
ต่อภาครัฐและภาคีที่เกี่ยวข้องพร้อมแสดงสินค้าชุมชน
ผมได้รู้จักกับป้าทิวาพร ศรีวรกุล ผู้อำนวยการศูนย์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขาม ต.ท่ามะขาม อ.เมือง
จ.กาญจนบุรีและเป็นสตรีดีเด่นด้านสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ป้าทิวาพร นำผลผลิตที่เกิดจากศูนย์ฯมาโชว์มากมาย
ไม่ว่าจะเป็นมะขามเปรี้ยวเมล็ดยักษ์ สบู่ ครีม ต้นฟักข้าว ลูกฟักข้าว น้ำส้มควันไม้ ปุ๋ยชีวภาพ น้ำยาเอนกประสงค์
และนิทรรศการการทำนา การเลี้ยงหมูหลุม
สิ่งที่สะดุดตาผมมากที่สุดคือลูกฟักข้าวขนาดเท่าส้มโอสีส้มสุกใสมีปุ่มแหลมๆรอบตัว ผมสอบถาม
ถึงประโยชน์และสรรพคุณของฟักข้าว ป้าทิวาพรเล่าให้ฟังว่า
“ ฟักข้าวมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน พม่า ไทย ลาว บังคลาเทศ มาเลเซียและฟิลิปปินส์ มีเรียก
ชื่อหลายชื่อที่ปัตตานีเรียก ขี้กาเครือ ที่สงขลาเรียกขี้พร้าไฟ ภาคเหนือที่ตากเรียกผักข้าว
แม่ฮ่องสอนเรียก พุกู้เด๊ะที่จังกวัดแพร่เรียกมะข้าว จังหวัดเลยเรียกหมากข้าว ภาคอิสานเรียก
ฝักไฟ เวียดนามเรียก แก็ก, งึก ชาวเวียดนามชอบใช้ประกอบอาหารมาก โดยเอาเยื่อสีแดง
จากผลฟักข้าวสุกพร้อมเมล็ดมาหุงกับข้าวเหนียวเชื่อว่าบำรุงสายตาดี ในชนบท
ประเทศเวียดนามนินมปลูกกันมาก โดยปลูกพาดพันไม้ระแนงข้างบ้าน”
ผมฟังป้าทิวาพรเล่าไปพร้อมกับสังเกตลักษณะใบและต้นฟักข้าวที่ป้าทิวาพรเอามาโชว์
ฟักข้าวเป็นเถาเลื้อยพัน
มีมือเกาะ ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงแบบสลับ ใบรูปหัวใจหรือรูปไข่ กว้างยาวเท่ากันประมาณ ๖-๑๒ เซนติเมตร
ขอบใบหยักเว้าลึกเป็นแฉก ๓-๕ แฉก คุณทิวาพรยังเล่าให้ฟังอีกว่าผลอ่อนของฟักข้าวจะมีสีเขียว
อมเหลือง เจริญได้เองโดยไม่ต้องถูกผสม เมื่อผลสุกจะมีสีแดง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดหรือแยกรากปลูก
“ฟักข้าวเริ่มมีดอกหลังปลูกประมาณ ๒เดือน เริ่มออกดอกราวเดือนพฤษภาคม และ
ให้ดอกจนถึงราวเดือน สิงหาคม ผลสุกใช้เวลาประมาณ ๒๐ วัน และใน ๑ ฤดูกาลจะเก็บเกี่ยว
ผลฟักข้าวได้ ๓๐-๕๐ ผลโดยเก็บสุกได้ตั้งแต่เดือนกรกฏาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ฟักข้าว ๑ ผล
จะได้เยื่อสีแดงราว ๒๐๐ กรัม เยื่อเมล็ดฟักข้าวมีปริมาณบีตาแคโรทีนมากกว่าแครอต ๑๐ เท่า
มีไลโคฟีนมากกว่ามะเขือเทศ ๑๒ เท่าและมีกรดไขมันขนาดยาวประมาณร้อยละ ๑๐ ของมวล
การกินบีตาแคโรทีนจากฟักข้าวจะสามารถดูดซึมในร่างกายได้ดีเพราะละลายได้ในกรดไขมัน
ในเยื่อเมล็ดฟักข้าวจะมีบีตาแคโรทีนถึง ๑๐๑ มิลิกรัมบำรุงสายตาได้ดี ฟักข้าวมีไลโคพีน
มากว่าผลไม้อื่นหลายสิบเท่า จึงถือเป็นอาหารต้านมะเร็งที่ดีที่สุดชนิดหนึ่ง”

หลังจากคุยกับป้าทิวาพรแล้วผมกลับมาค้นคว้าเพิ่มเติมจึงทราบว่าฟักข้าวช่างเป็นพืชมหัศจรรย์จริงๆ
มีสรรพคุณทางยามากมาย มีงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดลบอกว่าพบโปรตีนที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโต
ของเชื้อเอชไอวี-เอดส์และยับยั้งเซลล์มะเร็งจดสิทธิบัตรในประเทศไทยแล้ว ส่วนที่ประเทศพิลิปปินส์
ใช้รากฟักข้าวสระผมเพื่อกำจัดเหาใช้รากเอาไปบดหมักผมกระตุ้นให้ผมดก
สำหรับประเทศจีนใช้เมล็ดแก่ของฟักข้าวเป็นยามานานกว่า ๑,๒๐๐ ปี ใช้บำบัดอาการอักเสบบวม
กลากเกลื้อนฝี อาการฟกช้ำ ริดสีดวง แก้ท้องเสีย อาการผื่นคัน และโรคผิวหนังติดเชื้อต่างๆทั้งในคนและสัตว์ และที่เวียดนาม
หลังจากนั้นไม่นานผมได้รับโทรศัพท์จาก
คุณเมธา เอี่ยมอิทธิพล จากบ้านเลขที่ ๔๕ หมู่ ๑ ต.ควนโดน
อ.ควนโดนอดีตข้าราชการครูจากจังหวัดสตูล เล่าให้ฟังว่า ที่สตูลเรียกฟักข้าวว่าขี้พร้าไฟ หรือยาบังเอิญ เนื่องจาก
มีเพื่อนบ้านคนหนึ่งป่วยเป็นโรคเบาหวาน พอได้กินแกงส้มปลากระทิงใส่ฟักข้าวปรากฏว่าน้ำตาลในเลือดลดลงจนปรกติ
คนป่วยรายนี้ดีใจมากจึงเรียกฟักข้าวว่ายาบังเอิญ ราคาฟักข้าวที่สตูลลูกใหญ่ๆราคาลูกละ ๒๐๐บาท โอ้โฮ้..แพงน่าดู
ต้องขอขอบคุณ
คุณทิวาพร ศรีวรกุล ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขาม ๒๑๓ หมู่ ๒ ซอยพัฒนา ๑
ต.ท่ามะขาม อ.เมือง จ.กาญจนบุรี โทร ๐๘-๑๘๕๗-๒๕๐๐
คุณเมธา เอี่ยมอิทธิพล ๔๕ หมู่ ๑ ต.ควนโดน
อ.ควนโดน จ.สตูล โทร. ๐๘-๑๙๑๙-๕๑๘๓